อาหารเสริมกลูต้าไธโอนที่พบได้ทั่วไปเลือกบริโภคอย่างไรให้ถูกต้อง และมีผลข้างเคียงอะไร ในบทความนี้จะพาคุณมาดูกัน ปัจจุบันกลูต้าไธโอนที่พบทั่วไปในท้องตลาดเป็นยาเม็ดที่ อย.อนุญาตให้ขายเป็นอาหารเสริมนั้น ที่จริงเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์กลูตาไธโอน (Glutathione Precursors) คือ อมิโนแอซิด เอ็นอะซิทิลซิสเตอีน (N-acetyl-cysteine) ซึ่งโมเลกุลชนิดนี้ จะสามารถถูกดูดซึมเข้าทางเดินอาหารได้ง่ายและรวดเร็ว และจะไปรวมตัวกับโปรตีนอีก 2 ชนิด คือ อมิโนแอซิด ไกลซิน (Glycine) และ กลูตาเมท (Glutamate) ที่มีอยู่มากมายในกระแสเลือดจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
การรวมตัวของอมิโนแอซิดทั้ง 3 ชนิด ก่อให้เกิดเป็นโมเลกุลกลูตาไธโอนในกระแสเลือด ดังนั้น หากมีอาหารเสริมกลูต้าอ้างว่าเป็นกลูต้าไธโอนแท้ แต่ไม่ได้ผลิตจากสารตั้งต้นในการสังเคราะห์กลูตาไธโอน (Glutathione Precursors) ก็ไม่ควรซื้อรับประทาน เนื่องจากกลูต้าไธโอนนั้นมีโมเลกุลใหญ่ ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมได้ อย่างไรก็ตามหากรับประทานกลูต้าไธโอนมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น มึนงง ปวดหัว ตาพล่ามัว และอาจมีสารตกค้าง ทำให้เป็นนิ่วที่ไตและกระเพาะปัสสาวะอีกด้วย
ทั้งนี้ ยังไม่พบผลข้างเคียงหรือปฏิกริยาของยากลูตาไธโอนชนิดรับประทาน ในขนาดสูงยังไม่มีรายงานว่าจะกระตุ้นให้เกิดมะเร็งในทุกๆ ส่วนของร่างกาย หากคุณสนใจเลือกอาหารเสริมผิวขาวยี่ห้อไหนดี คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้
แต่ผลข้างเคียงที่น่ากลัวคือประเภทแบบฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ มีโอกาสที่จะแพ้ได้ อาจจะไม่ได้แพ้สารกลูตาไธโอน แต่แพ้สารฆ่าเชื้อ สารกันเสีย หรือสารปนเปื้อน โดยเฉพาะยาที่ไม่ทราบแหล่งที่มาหรือแหล่งผลิต ดังนั้นการฉีดเข้าหลอดเลือดต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยและเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการให้ยา เช่น การมองเห็นผิดปกติซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีที่จอประสาทตา การฉีดยาในอัตราที่เร็วเกินไป การติดเชื้อในกระแสเลือดจากเครื่องมือที่ไม่สะอาด เกิดอาการช็อค ความดันโลหิตต่ำ การแพ้อย่างรุนแรง กล้ามเนื้อสั่น ประสาทหลอน หายใจติดขัด หลอดลมตีบ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากคุณสงสัยว่ากินกลูตาแล้วได้ผลจริงหรือไม่ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ ทำไมกลูต้าจึงทำให้ผิวขาว
กลูต้าไธโอน สรุปแล้วไม่ได้อันตรายจนต้องวิตกแต่ก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง จากที่มาของการนำกลูต้าไธโอนมาใช้รักษาโรคแล้วพบว่ามีผลข้างเคียง คือ การกินปริมาณสูงติดต่อกันจะทำให้ผิวขาวใสเร็วขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้มีการใช้ประโยชน์จากผลข้างเคียงนี้มาสู่ธุรกิจอาหารเสริมกลูต้าต่างๆ ที่มีอยู่มากมายตามท้องตลาด อย่างไรก็ตาม การกินกลูต้าให้ได้ผลในปัจจุบันยังไม่มีรายงานผลข้างเคียงใดๆ และไม่มีรายงานความเป็นพิษ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในระยะสั้น หรือระยะยาว โดยมีระดับความปลอดภัยจัดเป็น “อาหารเสริม” ไม่ใช่ “สมุนไพร” ดังนั้น ผู้ที่ประสงค์จะกินอาหารเสริมชนิดนี้เป็นประจำ เพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มปริมาณกลูตาไธโอนในกระแสเลือด เพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ชะลอวัย และเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย พึงระลึกไว้เสมอว่าไม่มีอะไรปลอดภัย 100% แต่หากใช้อย่างเหมาะสมก็ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายใดๆ
อ้างอิง :